ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
จากการสำรวจในประเทศไทย ปี 2555 ผู้สูงอายุ 8 ล้านคน 50% ข้อเข่าเสื่อม
รวมผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมทุกวัยถึง 6 ล้านคน
ทั่วโลก ปี 2003 มีจำนวน 400 ล้านคน
คาดการณ์ในปี 2020 มีจำนวน 570 ล้านคน
โรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทย
- ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง
- ในกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี วัยทองผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย
- ชายและหญิงที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป จะป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
มากกว่าร้อยละ 80-90 - น้ำหนักตัวยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมาก
- อุบัติเหตุบริเวณข้อ มักพบในนักกีฬา และอุบัติเหตุอื่นๆ
- อาชีพ เช่น ชาวไร่ ชาวนา มักพบข้อเสื่อมบริเวณบั้นเอว แม่ค้ามักพบ
โรคข้อเสื่อมของข้อเข่า ส่วนแม่บ้านพบข้อนิ้วเสื่อมมากที่สุด
4 ระยะของโรคข้อเข่าเสื่อม
ระยะที่ 1 ข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มแรก (minor) มีการสูญเสียกระดูกอ่อนผิวข้อเล็กน้อย 10% และเริ่มมีกระดูกงอก
บริเวณขอบของข้อ ในระยะนี้ ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกปวดข้อ แต่อาจมีอาการตึงข้อเข่าเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง
ระยะที่ 2 ข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อย (mild) กระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกกร่อนและบางลง มีกระดูกงอกเป็นปุ่มๆ ที่ขอบ
ของข้อ ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่ายังเหมือนปกติ ในระยะนี้ ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อเล็กน้อย ขัดฝืด และมีเสียง
ในข้อเข่าก๊อกแก๊ก
ระยะที่ 3 ข้อเข่าเสื่อมปานกลาง (moderate) กระดูกอ่อนผิวข้อสึกกร่อนและเกิดกระดูกงอกมากขึ้น ช่องว่างระหว่าง
กระดูกข้อเข่าแคบลง กระดูกข้อเข่ามีการเสียดสีกัน และมีการอักเสบของข้อและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ ทำให้มีการผลิต
น้ำในข้อเข่ามากขึ้น หรือเรียกว่า “water of knee”
เกิดข้อเข่าบวม ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมประจำวันจะมีอาการปวดข้อเข่า ข้อติดขัด ฝืดแข็ง มีอาการขัดข้อเข่า
ขณะเดินและเกิดเสียงในข้อเข่ามากขึ้น รวมทั้งเริ่มมีอาการข้อเข่าหลวมจากเอ็นรอบข้อเข่ายืดและกล้ามเนื้อมีความ
แข็งแรงลดลง ทำให้ข้อเข่ามีความมั่นคงและความคล่องตัวลดลง
ระยะที่ 4 ข้อเข่าเสื่อมรุนแรง (severe) หรือข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย กระดูกอ่อนผิวข้อสึกกร่อนถึงร้อยละ 60 กระดูกที่งอก
บริเวณขอบข้อมีขนาดใหญ่ขึ้น กระดูกข้อเข่าชิดติดกัน แถมยังมีการอักเสบของข้ออย่างต่อเนื่อง แต่น้ำในข้อมีปริมาณลดลง
ทำให้ข้อมีการเสียดสีกันมากขึ้น ในระยะนี้ ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่ามาก ข้อเข่าผิดรูป คือ มีลักษณะเข่าโก่ง เข่าแอ่น
หรือเข่าชนกัน ข้อเข่าหลวมมากขึ้น ทำให้เกิดความไม่มั่นคงขณะยืน เดิน มีอาการฝืดขัดมากขึ้น เดินลำบาก มีการจำกัดการ
เคลื่อนไหวทั้งการงอและการเหยียด กำลังกล้ามเนื้อรอบเข่าจะอ่อนแรง ทำให้ผู้ป่วยเกิดการหกล้มได้ง่าย